Notice: Function _load_textdomain_just_in_time was called incorrectly. Translation loading for the wordpress-seo domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /var/www/web2.happenn.com/wp-includes/functions.php on line 6114
Event Guide: ใช้ระบบลงทะเบียนงานอีเวนต์อย่างไรให้ทั้งไวและมีประสิทธิภาพสูงสุด | Happenn
บล็อก
งานอีเวนต์แบบออนไลน์

Event Guide: ใช้ระบบลงทะเบียนงานอีเวนต์อย่างไรให้ทั้งไวและมีประสิทธิภาพสูงสุด

เขียนเมื่อ SEP 21, 2022

เป็นที่รู้กันดีว่าการจัดงานอีเวนต์ประเภท on-site หรือแบบที่ผู้ร่วมงานต้องมาพบหน้ากันตัวเป็นๆ นั้นให้ประโยชน์กับผู้ร่วมงานมากๆ แต่ในมุมของผู้จัดงานเองก็มาพร้อมกับเรื่องชวนหัวหมุนระหว่างการเตรียมงานด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะเมื่อเป็นเรื่องของระบบลงทะเบียนงานอีเวนต์ เพราะคิวที่ยาว ไม่ใช่แค่เสียเวลาผู้ร่วมงาน แต่จะทำให้ผู้คนเหล่านี้เสียความรู้สึกด้วยในอีกทาง

ในบล็อกนี้ เราจะพาคุณไปดูรายละเอียดต่างๆ ในส่วนของเทคโนโลยีว่าจะสามารถเข้ามาช่วยให้คุณจัดการกลุ่มคนจำนวนมากที่งานอีเวนต์แบบสบายๆ กว่าที่ทำอยู่ได้อย่างไรบ้าง

 


 

สารบัญ

คลิกเพื่อข้ามไปอ่านแต่ละหัวข้อ

  • ฉันควรจะใช้ระบบลงทะเบียนงานอีเวนต์แบบไหน
  • แนะนำระบบลงทะเบียนและเช็กอินงานอีเวนต์ที่เหมาะกับคุณ
  • การทำงานกับข้อมูล
  • อย่ามองข้ามเรื่องอินเทอร์เน็ต
  • บทส่งท้าย
  •  


     

    ฉันควรจะใช้ระบบลงทะเบียนงานอีเวนต์แบบไหน?

    ก่อนจะตอบคำถามนี้ เราอยากชวนคุณผู้อ่านย้อนกลับไปที่จุดเริ่มต้นแล้วถามคำถาม 3 ข้อนี้ก่อนครับ

  • ผู้ร่วมงานของเราคือใคร
  • พวกเขามีความเข้าใจในเทคโนโลยีดิจิทัลต่างๆ มากแค่ไหน
  • คุณต้องการอะไรกลับมาจากการใช้ระบบนี้
  •  

    สำหรับผู้ร่วมงานอีเวนต์ทั่วๆ ไป ใช้แค่ QR code อย่างเดียวก็อาจจะพอ แต่ในเวลาเดียวกันกลุ่มที่มีความเป็น geek มากกว่า ก็อาจคาดหวังแอปพลิเคชันมือถือดีๆ ซักตัวที่มีทุกฟีเจอร์ตั้งแต่การลงทะเบียนและเช็กอิน รวมถึงเนื้อหาอื่นๆ ของงานเช่น หน้าเช็กกำหนดการ ระบบจับคู่ธุรกิจ หรือระบบแชตแบบตัวต่อตัวรวมอยู่ในที่เดียวกันไปเลย หรือถ้าเป็นกลุ่มผู้สูงวัย ก็อาจจะไม่ได้ต้องการอะไรมากไปกว่าอะไรก็ได้ที่ขั้นตอนการผ่านประตูที่เร็วที่สุด และยุ่งกับสมาร์ทโฟนให้น้อยที่สุดเท่าที่จะน้อยได้ เป็นต้น

    ระบบลงทะเบียนงานอีเวนต์เหล่านี้ไม่ได้สร้างขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกให้ฝั่งผู้ร่วมงานอย่างเดียว แต่ยังทำหน้าที่เก็บข้อมูลต่างๆ เพื่อนำมาประมวลผลให้กับฝั่งผู้จัดและผู้ออกบูธได้นำไปใช้งานต่อในอนาคตด้วย เพราะฉะนั้นการจะเลือกระบบใดๆ มาใช้กับงานอีเวนต์ของคุณ นอกจากเรื่องการเช็กอินผู้ร่วมงานแล้ว เรายังจะต้องดูด้วยว่าการเก็บข้อมูลเป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่

    หมายเหตุ: นอกจากข้อกำหนด GDPR ของสหภาพยุโรป เรายังต้องเรียนรู้เกี่ยวกับกฎหมายอื่นๆ ที่แต่ละประเทศทยอยประกาศบังคับใช้กันออกมาเรื่อยๆ ด้วย อย่าลืมเช็กให้แน่ใจว่าระบบที่คุณใช้ไปกันได้กับกฎหมายด้านความเป็นส่วนตัวของแต่ละที่ แต่โดยส่วนใหญ่แล้วถ้าระบบเป็นไปตาม GDPR แล้วก็มักจะใช้ได้ในทุกๆ ที่เพราะการบังคับใช้เป็นไปในทิศทางเดียวกันครับ

     


     

    แนะนำระบบลงทะเบียนและเช็กอินงานอีเวนต์ที่เหมาะกับคุณ

    QR Code

    หนึ่งในระบบที่ผู้คนชอบที่สุด เพราะทั้งไม่ต้องพิมพ์และกดแค่ไม่กี่ขั้นตอนบนหน้าจอมือถือก็เสร็จแล้ว วิธีนี้หน้าฉากดูสะดวกก็จริง แต่เบื้องหลังก็ต้องเตรียมงานเยอะทีเดียวครับ ตั้งแต่หน้าเว็บสำหรับลงทะเบียน เทมเพลตอีเมลสำหรับแจ้งตัว QR code กลับไปให้ผู้ร่วมงานเพื่อใช้ในวันงาน เหมือนจะต้องทำแค่สองสามอย่าง แต่ก็เป็นสองสามอย่างที่ต้องให้ความสำคัญมากทีเดียวครับ

    ข้อดีของการใช้ QR code คือความเร็วในการแสกน เพราะฉะนั้นแล้วถ้าถามว่าระบบนี้เหมาะกับงานแบบไหน เราก็บอกได้เลยว่าเหมาะกับทุกงาน โดยเฉพาะกับงานที่คนเยอะๆ

    ระบบยืนยันด้วยชื่อจริง

    เราพูดเรื่องระบบเร็วๆ ไปแล้ว ตอนนี้มาถึงระบบที่ปลอดภัยกว่ากันบ้างครับ วิธียืนยันชื่อในระบบว่าตรงกับบัตรประชาชนหรือไม่ เหมาะกับงานที่ใช้วิธีการเชิญให้เข้าร่วมเป็นหลัก และจะง่ายยิ่งขึ้นถ้าผู้จัดมีรายชื่อของแขกอยู่ก่อนแล้ว เพราะไม่ต้องเสียเวลารวบรวมใหม่

    วิธีนี้ซับซ้อนน้อยกว่า QR code เพราะผู้ร่วมงานไม่ต้องลงทะเบียนมาก่อนก็ได้ ชื่อตรงกันก็พอแล้ว แต่ก็จะไม่ค่อยเหมาะกับอีเวนต์ที่เป็นสาธารณะ เพราะในทางปฏิบัติจริงเราคงไม่สามารถเก็บรายชื่อผู้คนจำนวนมากที่ไม่รู้จักมาก่อนเพื่อนำมาเตรียมระบบให้พร้อมใช้งานได้ครับ (เว้นเสียแต่ว่าจะมีหน้าเว็บให้ลงทะเบียนล่วงหน้ามาก่อน)

    แอปพลิเคชันมือถือ

    ที่จริงพอพูดว่าเป็นแอปมือถือ มันจะออกมาเป็นอะไรก็ได้ครับ และรวมถึงการใช้เป็นส่วนหนึ่งของระบบเช็กอินเข้าร่วมงานก็ได้เช่นกัน และสามารถทำได้หลายวิธีด้วย ไม่ว่าจะใช้แอปเป็นตัวเก็บ QR code ไปแสกนเข้างาน หรือถ้าโทรศัพท์มือถือมีระบบ RFID ก็สามารถใช้ทำหน้าที่เป็นบัตรเข้างานได้เลยด้วย

    อีกเคสหนึ่งคือถ้าคุณจัดงานอีเวนต์เดียวกันหลายๆ ครั้ง (เช่นการจัดงานสัมมนาครั้งแรกที่จังหวัดกรุงเทพฯ หลังจากนั้นสัปดาห์ถัดมาไปจัดที่นนทบุรีต่อ) ก็สามารถอำนวยความสะดวกผู้ร่วมงานที่อยากไปร่วมอีกครั้งด้วยการให้พวกเขาใช้ข้อมูลเดิมจากงานที่มีอยู่แล้วมาเช็กอินเข้างานเลย โดยไม่ต้องย้อนกลับไปลงทะเบียนงานใหม่ตั้งแต่ต้นก็ได้เช่นกัน

    RFID/NFC Card

    อีกหนึ่งโซลูชันที่กระชับ เหมาะมือ และสามารถใช้ได้ในหลากหลายสถานการณ์ ไม่ว่าจะเป็นงานอีเวนต์ที่ขายบัตรให้เข้าร่วม หรืองานปาร์ตี้ภายในบริษัท สำหรับกรณีหลัง (ขอข้ามเรื่องขายบัตรไป เพราะไม่มีอะไรซับซ้อนอยู่แล้ว) ลองนึกภาพว่าคุณเป็นผู้รับผิดชอบงานเลี้ยงภายในบริษัทที่มีคนมาร่วมงานมากกว่า 500 คนขึ้นไปมาที่หน้าประตูทางเข้าแบบพร้อมๆ กัน การจะให้พวกเขาต่อแถวแล้วตรวจชื่อทีละคนก็คงจะไม่ใช่วิธีที่คล่องตัวนัก ว่ามั้ยครับ?

    แทนที่จะทำแบบนั้น คุณสามารถใช้วิธี import ข้อมูลจากบัตรพนักงานเข้ามาในเครื่องอ่านบัตรที่หน้างาน แล้วให้ทุกคนใช้บัตรแสกนเข้างานได้เลยเพียงแค่การแตะบัตรลงไป ง่ายๆ แค่นั้นเลยแหละครับ

    หรือในอีกกรณีอาจจะใช้เป็นรูปของพนักงานที่อยู่ในระบบ แล้วตั้งกล้องสำหรับเช็กอินถ้าใบหน้าตรงกัน วิธีนี้เราเรียกว่า Image Processing แต่ก็เป็นวิธีที่ต้องให้ระบบของเราทำการ machine learning ประมาณหนึ่งถึงจะสามารถใช้งานได้อย่างแม่นยำ และยังมีประเด็นเรื่องความเป็นส่วนตัวที่ต้องคำนึงถึงด้วยเช่นกัน

    Beacon

    ไร้สัมผัส ระบบบีคอนอาจจะมีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นอีกนิดเมื่อเทียบกับวิธีอื่นๆ ที่เราพูดถึงไปก่อนหน้า ตัวระบบจะปล่อยให้อุปกรณ์แต่ละชิ้นสื่อสารกันเองโดยที่ผู้ใช้งานไม่ต้องทำอะไร อาจจะเป็นการสื่อสารระหว่างตัวอุปกรณ์บีคอนกับบัตร RFID โทรศัพท์มือถือ หรือริสต์แบนด์ก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่าเราออกแบบการเช็กอินของงานไว้อย่างไรครับ

    ลายเซ็นดิจิทัล

    อย่าลืมว่านอกจากพวกเราๆ ที่คุ้นเคยกับเทคโนโลยีอยู่แล้ว ก็ยังมีคนที่ไม่ค่อยได้จับสมาร์ทโฟนกันอยู่ด้วย และกลุ่มนี้แหละครับที่ challenge ผู้จัดงานสุดๆ ว่าเราจะนำเทคโนโลยีมาให้ใช้ได้ยังไง แต่ถ้าทำได้ดีอีเวนต์ของเราก็จะเป็นที่จดจำในด้านความง่ายไปอีกนานทีเดียว

    เพราะฉะนั้น ถ้าสามารถเก็บข้อมูลที่เป็นลายเซ็นมือของผู้ร่วมงานมาใช้ในระบบได้ ก็แนะนำให้ลองทำดูครับ

    ในความเห็นของเรา วิธีนี้จะเหมาะกับงานประเภทคนน้อย ๆ ที่ผู้ร่วมงานเป็นระดับ VVIP ประมาณหนึ่ง โดยที่ทางฝั่งออร์แกไนเซอร์จะต้องทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลตรงนี้มาให้พร้อม ซึ่งส่วนที่ยากน่าจะอยู่ตรงนี้แหละครับ

     


     

    การทำงานกับข้อมูล

    ตามที่เราได้เกริ่นไปก่อนหน้านี้เกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีเกี่ยวกับงานอีเวนต์เข้ามาใช้ จริงๆ มันไม่ใช่แค่เรื่องของการทำให้คนเช็กอินเข้างานได้ง่ายเพียงอย่างเดียว แต่ยังเป็นเรื่องของการเก็บข้อมูลผู้ใช้งานด้วย และเมื่อเป็นเรื่องของระบบลงทะเบียนงานอีเวนต์แล้ว คุณผู้จัดก็ต้องรับมือกับจำนวนข้อมูลไม่น้อยเลยทีเดียวครับ ในเวลาสั้นๆ เสียด้วย

    แถลงนโยบายความเป็นส่วนตัวให้ชัดเจน

    สิ่งแรกที่เราอยากแนะนำคือการแถลงให้ชัดเจน ว่าในฐานะผู้จัดงาน เรานำข้อมูลของผู้ร่วมงานที่เก็บมาจากการลงทะเบียนล่วงหน้า หรือระหว่างการเข้าร่วมอีเวนต์ไปใช้ในการทำอะไรบ้าง เขียนออกมาในภาษาที่เข้าใจง่ายเพื่อหลีกเลี่ยงความสับสน หากมีทีมกฎหมาย นำไปให้ตรวจสอบก่อนได้จะยิ่งเป็นการดี หลังจากนั้นก็เป็นเรื่องของการนำไปเผยแพร่ ไม่ว่าจะบนหน้าเว็บไซต์ช่วงก่อนลงทะเบียน หรือที่อุปกรณ์เช็กอินหน้างาน เพื่อให้ผู้ใช้งานได้อ่านอย่างครบถ้วนชัดเจนก่อนดำเนินการขั้นตอนต่อไป

    เตรียมตัวทำรีพอร์ต

    รู้ใช่ไหมครับว่าอะไรตามมาหลังงานอีเวนต์เลิก? ทำรายงานส่งนั่นเอง

    เราคงลงรายละเอียดให้คุณตรงนี้ไม่ได้มากนัก เพราะรีพอร์ตของแต่ละงานก็นำเสนอและเน้นเป้าหมายที่แตกต่างกันออกไป แต่การรู้ว่าเป้าหมายคืออะไรตั้งแต่แรกจะช่วยให้คุณสามารถทำงานส่วนนี้เสร็จได้เร็วขึ้นมาก เพราะรู้แล้วว่าจะต้องเอาข้อมูลจากตรงไหนมาใช้ทำงาน ลองใช้แดชบอร์ดของซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่นำมาใช้ หาดูว่าจะเอาข้อมูลอะไรได้จากหัวข้อไหน และถ้าเวลาเหลือลอง export ออกมาดูคร่าวๆ ให้เข้าใจมากขึ้นได้ยิ่งดีครับ

     


     

    อย่ามองข้ามเรื่องอินเทอร์เน็ต

    เพราะอีเวนต์ มักจะเป็นเพียงงานที่เกิดขึ้นชั่วคราวเท่านั้น ตามสถานที่จัดงานจึงไม่ได้เตรียมอินเทอร์เน็ตที่ดีไว้ให้ผู้จัดหรือคนที่มาออกบูธได้ใช้งานกันซักเท่าไหร่ ถ้าโชคดีก็อาจจะขอยืมรหัสไวไฟจากสำนักงานได้แบบส่วนตัว แต่เป็นไปได้อย่าหวังน้ำบ่อหน้าเลยครับ

    อุปกรณ์สำหรับระบบลงทะเบียนงานอีเวนต์ทุกวันนี้ไม่ค่อยเก็บข้อมูลผู้ร่วมงานไว้ในตัวเครื่องกันแล้ว แต่ใช้เป็นการเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลออนไลน์ที่มีเว็บไซต์ของงานอยู่กันมากกว่า เนื่องจากถ้ามีข้อมูลอัปเดตก็จะสามารถซิงค์ให้เป็นเวอร์ชันล่าสุดได้ทันที ลองคิดดูว่าเราต้องมานั่งอัปเดตรายชื่อ อีเมล เบอร์โทรศัพท์มือถือใน iPad หน้างานทีละเครื่องสิครับ เหนื่อยเป็น ___ แน่นอน (เติมคำเปรียบเปรยใดๆ ตามสะดวกได้เลย)

    เพราะฉะนั้นแล้ว การมีเราเตอร์ของบริษัทพกไว้เองจึงเป็นสิ่งสำคัญมากทีเดียวครับ และอีกเรื่องหนึ่งที่คุณอาจมองข้ามไปและคิดว่าไม่มีใครลืมหรอก ก็คือ การเตรียมปลั๊กพ่วงสายไฟยาวที่สุดเท่าที่จะหาได้ติดไม้ติดมือไปด้วย จากการคุยกับผู้จัดงานหลายเจ้า ทุกคนบอกเหมือนกันว่าเคยประสบปัญหานี้กันมาแล้วทั้งนั้น และเมื่อไหร่ที่ไม่มีไฟ ปัญหาที่ต้องแก้ก็จะไม่ใช่แค่เรื่องสัญญาณอินเทอร์เน็ตอย่างเดียวด้วยเช่นกัน

     


     

    บทส่งท้าย

    ที่จริงมีระบบลงทะเบียนงานอีเวนต์แบบ on-site ให้คุณลองอีกมากมาย แต่การจะเลือกฟีเจอร์ทุกอย่างด้วยตัวคุณเองทีละชิ้นก็ดูเป็นกิจกรรมที่ชวนให้เหนื่อยหน่ายได้ง่ายทีเดียว

    กลับกัน ลองเข้าไปดูเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของ Happenn คุณจะพบว่าเราเตรียมโซลูชันด้านเทคโนโลยีงานอีเวนต์เอาไว้ให้คุณแล้ว ทั้งในส่วนของผลิตภัณฑ์และบริการ และถ้าคุณต้องการถามคำถามหรือรายละเอียดใดๆ แบบเฉพาะเจาะจง ก็สามารถติดต่อเราเข้ามาผ่านแบบฟอร์มนี้ได้เลยครับ