Notice: Function _load_textdomain_just_in_time was called incorrectly. Translation loading for the wordpress-seo domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /var/www/web2.happenn.com/wp-includes/functions.php on line 6114
5 เสาหลักของเครื่องมือสร้าง Engagement ที่คนทำอีเวนต์ควรใช้ | Happenn
บล็อก
เครื่องมือสร้าง Engagement

5 เสาหลักของเครื่องมือสร้าง Engagement ที่คนทำอีเวนต์ควรใช้

เขียนเมื่อ SEP 27, 2022

การจัดงานอีเวนต์ในปัจจุบันไม่ใช่แค่การชวนผู้คนให้มารวมตัวกันเพียงอย่างเดียว โดยเฉพาะเมื่อมีเทคโนโยลีต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วม เช่น เครื่องมือสร้าง Engagement ที่ยิ่งทวีความสำคัญในวงการจัดงานอีเวนต์ขึ้นเรื่อยๆ

เพราะอะไร? คำตอบก็คือ เพราะทุกฟีเจอร์ที่ผู้จัดงาน (คุณ) มอบให้กับผู้ร่วมงาน จะยิ่งเพิ่มโอกาสในการทำให้พวกเขาอยู่ในงาน และมีส่วนร่วมกับงานอีเวนต์มากขึ้นไปอีก

ในบล็อกนี้ เราจะมาพูดถึงเสาหลักทั้ง 5 ของเครื่องมือสร้าง Engagement ที่คุณควรนำไปใช้กับงานของคุณในอนาคตครับ

 


 

สารบัญเครื่องมือสร้าง Engagement

คลิกที่แต่ละหัวข้อเพื่อข้ามไปอ่านได้เลย

  • Live Polling: ฟังความเห็นผู้ร่วมงานได้มากขึ้น
  • Live Voting: ร่วมกันตัดสินใจในไม่กี่คลิก
  • Q&A: ยกมือถามแบบออนไลน์ ง่ายๆ ได้ทุกเวลา
  • Lucky Draw: เพราะใครๆ ก็ชอบของฟรี!
  • Quiz: การแข่งขันมันอยู่ในสายเลือด
  • บทส่งท้าย
  •  


     

    Live Polling: ฟังความเห็นผู้ร่วมงานได้มากขึ้น

    โลกยุคโซเชียลมีเดียพิสูจน์ข้อเท็จจริงให้เราได้ทราบกันเน้นๆ 1 เรื่อง นั่นคือ ผู้คนชอบที่จะแสดงความเห็นออกมา เพราะฉะนั้นแล้วการที่งานอีเวนต์ของคุณมีโพลให้แสดงความเห็น ก็จะเป็นประโยชน์มากๆ ในการทำความเข้าใจและรู้จักกับผู้ร่วมงานให้มากขึ้น ว่าพวกเขาคิดหรือต้องการอะไรอยู่

    ระบบโพลเป็นสิ่งที่เรียบง่ายและตรงไปตรงมา แต่ก็ต้องพึ่งไอเดียในการดึงคนมาร่วมกิจกรรมเหมือนกัน คุณอาจจะต้องคุยกันภายในกับทีมมาร์เก็ตติ้งหรือครีเอฟทีมเพิ่มอีกนิดว่าจะปล่อยโพลหัวข้ออะไรออกไป ให้แน่ใจว่าจะมีคนมาร่วมเล่นด้วย อาจจะเป็นห้วข้อหลักสำหรับถามตลอดระยะเวลาการจัดงาน หรือเป็นโพลสั้นๆ สำหรับแต่ละเซสชันของงานก็ได้ หรือจะเป็นแค่คำถามบนหน้าจออุปกรณ์เช็กอินหน้างานก็ยังได้เลยครับ

     


     

    Live Voting: ร่วมกันตัดสินใจในไม่กี่คลิก

    การโหวตฟังดูคล้ายๆ ระบบโพล แต่ก็ไม่เหมือนเสียทีเดียวครับ ขึ้นอยู่กับบริบท

    บล็อก Jagran Josh อธิบายความแตกต่างของสองวิธีการนี้ไว้ว่าที่จริงก็ดูคล้ายกัน แต่คนจะจริงจังกับการ ‘โหวต’ มากกว่าโพล ถ้าเลือกจะโหวต แปลว่าต้องมีผลลัพธ์ตามมาในท้ายที่สุด ในขณะที่การทำโพลจะดูสบายๆ กว่าในรูปแบบของการถามความเห็น ไม่ได้ตัดสินใจอะไร ถ้าให้สรุปง่ายๆ ก็คือ การโหวตจะมีผลตามมาจากสิ่งที่เลือก ส่วนการทำโพล ไม่ว่าความเห็นของเราจะเลือกไปทางไหน ก็ไม่มีผลอะไรครับ

    แต่นั่นคือวิธีการโหวตแบบดั้งเดิม ซึ่ง ในโลกของงานอีเวนต์เราสามารถโหวตกันแบบสบายๆ กว่านั้นได้ ยกตัวอย่างเช่น โหวตว่าจะให้แจกของรางวัลอะไรเป็นชิ้นต่อไป หรือโหวตหาคอสเพลเยอร์ที่โดดเด่นที่สุดในงานคอมิค เป็นต้น และเช่นเดียวกับกับระบบโพล เราจะนำระบบโหวตไปติดตั้งไว้ที่จุดไหนของงานก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่าคุณอยากให้ผู้ร่วมงานมีส่วนร่วมกับกิจรรมนี้ที่จุดไหน

    เพิ่มเติม: ระบบโหวตอิเล็กทรอนิกส์สามารถใช้ในการทำงานจริงจัง เช่น การโหวตเลือกประธานบริษัทคนใหม่ ในองค์กรมหาชนที่มีผู้ถือหุ้นเป็นจำนวนมาก ผ่านการประชุมออนไลน์ได้เช่นกัน แต่ในการจะทำแบบนั้นได้ ระบบโหวตที่ใช้จะต้องได้คุณภาพและมาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ทั้งในแง่ของเทคโนโลยีและการปฏิบัติจริง เราจะมาพูดถึงเรื่องนี้กันภายหลังในบล็อกต่อๆ ไปครับ

     


     

    Q&A: ยกมือถามแบบออนไลน์ ง่ายๆ ได้ทุกเวลา

    งานอีเวนต์ส่วนใหญ่จะมีช่วงขึ้นพูดบนเวที ไม่ว่าจะเป็นงาน on-site หรือ virtual ก็ตาม โดยปกติแล้วพอหมดช่วงเสวนาก็จะเป็นการถามตอบกันกับคนดู ให้ยกมือถามสิ่งที่สงสัยหรืออยากรู้เพิ่มเติมได้เท่าที่เวลาจะมีให้

    แต่การยกมือก็เป็นเหมือนการบังคับกลายๆ ให้ต้องเปิดเผยตัวต่อหน้าฝูงชน ซึ่งคนขี้อายมักไม่กล้าที่จะทำ และอีกเรื่องก็คือการยกมือถามตอบแบบสดๆ เป็นสิ่งที่ควบคุมได้ยาก (และอาจเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นได้ โดยเฉพาะกับงานที่มีการถ่ายทอดสดออกไปทางอินเทอร์เน็ตหรือโทรทัศน์)

    ปัญหาเหล่านี้นำมาซึ่งการเกิดขึ้นของระบบถามตอบ Q&A แบบดิจิทัล ที่คุณแค่ปล่อย QR Code ออกไปให้ผู้ร่วมงานแสกนเข้ามาเพื่อส่งคำถามแบบไม่ต้องระบุชื่อก็ได้ (หรือจะระบุก็ได้หากพวกเขายินดี) วิธีนี้คนขี้อายก็จะสามารถมีส่วนร่วมได้ และทีมงานของงานอีเวนต์ก็จะสามารถสกรีนคำถามได้ระดับหนึ่งก่อนส่งต่อให้ผู้พูดบนเวทีตอบต่อไปด้วย

    Tip: คุณสามารถทำให้ช่วง Q&A ของงานมีลูกเล่นมากขึ้น ด้วยการนำคำถามที่น่าสนใจหลายๆ ข้อมาขึ้นบนหน้าจอ (ถ้ามี) แล้วให้ผู้ร่วมงานเป็นฝ่ายเลือกว่าควรจะตอบข้อไหนดี หรือจะนำฟีเจอร์อย่างโหวต โพล เข้ามาใช้ในขั้นตอนนี้ด้วยก็เป็นทางเลือกที่ไม่เลวครับ

     


     

    Lucky Draw: เพราะใครๆ ก็ชอบของฟรี!

    คำว่า “ฟรี” เป็นคำมหัศจรรย์ในหลายๆ วงการ รวมถึงวงการอีเวนต์ด้วยครับ!

    การให้สิ่งต่างๆ เพื่อดึงความสนใจผู้คนให้มางานอีเวนต์ เป็นหนึ่งในกลยุทธ์ด้านการตลาดที่ทำกันมาเป็นเวลานานมากแล้ว และยังคงได้ผลมาจนถึงทุกวันนี้ครับ และในทุกวันนี้ต้องบอกว่ามีเครื่องไม้เครื่องมือเข้ามาช่วยให้เราทำงานเหล่านี้ได้ง่ายขึ้นกว่าเดิมด้วย

    และเนื่องด้วยการแจกรางวัลเป็นกิจกรรมที่ไม่ได้ซับซ้อนอะไร เราจึงจะขอข้ามรายละเอียดในส่วนนี้ไป แล้วมาพูดถึงวิธีการเลือกระบบแจกรางวัลให้งานอีเวนต์กันแทน เรื่องแรกคือการดูว่าระบบที่คุณจะใช้สามารถแชร์หน้าจอขึ้นบนเวทีหรือผ่าน virtual event platform ได้หรือไม่ เพื่อที่เราจะได้ประกาศรางวัลให้คนดูได้สดๆ อย่างโปร่งใส ตามมาด้วยหน้าตาของตัวแพลตฟอร์ม ว่าสามารถใส่ CI ของคุณลงไปได้หรือเปล่า (ถ้าไม่ได้ ก็ไม่แนะนำเท่าไหร่ครับ) นอกจากนี้ก็จะเป็นเรื่องว่าระบบที่นำมาใช้นั้นเข้าใจง่ายแค่ไหนพอต้องส่งต่อให้ทีมงานนำไปใช้จริง เช่น การนำเข้าข้อมูลง่ายมากน้อยแค่ไหน ระบบสามารถ integrate เข้ากับแพลตฟอร์มงานอีเวนต์เดิมของคุณเพื่อดึงข้อมูลอัตโนมัติได้หรือไม่ ฯลฯ

    Tip: ระบบแจกรางวัลไม่ได้มีไว้เพื่อผู้จัดงานอย่างเดียว ในบทบาทของผู้ออกบูธ หรือ Exhibitor ก็สามารถนำไปทำกิจกรรม แคมเปญต่างๆ กับกลุ่มเป้าหมายของตัวเองได้เช่นกัน หากผู้จัดเตรียมเครื่องมือการตลาดเหล่านี้ไว้ให้ก็จะช่วยให้ขายพื้นที่บูธจัดงานออกง่ายขึ้นด้วยในทางหนึ่งครับ

     


     

    Quiz: การแข่งขันมันอยู่ในสายเลือด

    สี่หัวข้อที่เราพูดถึงไปก่อนหน้านี้ เป็นกิจกรรมที่เราพอจะได้เห็นในการจัดงานอีเวนต์ยุคก่อนหน้ามาบ้าง แต่เป็นเวอร์ชันที่ปรับให้ดีขึ้นด้วยการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ แต่ควิซเกมถือเป็นกิจกรรมที่นานๆ จะได้เห็นซักครั้งเนื่องจากต้องใช้การเตรียมตัวมากพอสมควร ตั้งแต่การคิดคำถาม ตั้งคะแนน รวมถึงจัดพื้นที่ในการร่วมกิจกรรมสำหรับคนจำนวนมาก แต่ด้วยเทคโนโลยียุคดิจิทัลแบบทุกวันนี้ มือถือเครื่องเดียวก็สามารถร่วมกิจกรรมได้ง่ายๆ แล้วครับ

    ด้วยวิธีนี้ คุณ และผู้ร่วมงานของคุณสามารถบอกลากระดาษกองโตไปได้เลย แถมสนุกได้ง่ายขึ้นกว่าด้วยเพราะใช้แค่การเปิดลิงก์หรือแสกน QR code เข้าไปก็สามารถร่วมกิจกรรมกันได้ทันที ยิ่งถ้านำผลคะแนนการแข่งขันมาโชว์ให้เห็นแบบสดๆ ได้ ก็จะยิ่งเพิ่มบรรยากาศแห่งการแข่งขันในกลุ่มผู้ร่วมงานให้มากขึ้นไปอีกด้วย

    Tip: วิธีที่ง่ายที่สุดในการจัดกิจกรรมควิซคือ “ทำให้เรียบง่าย” เข้าไว้ อย่าใส่ความซับซ้อนเข้าไปในโจทย์เยอะ เพราะคุณคือฝ่ายที่ต้องเป็นคนคำนวณคะแนนกิจกรรมเอง เดี๋ยวจะทำไม่ได้ หรือทำได้ยากเอาครับ การถามตอบแบบชอยซ์คือรูปแบบที่เข้าท่าที่สุดแล้วสำหรับการจัดกิจกรรมแบบง่ายๆ ไม่ว่าหัวข้อหรือธีมงานอีเวนต์ของคุณจะเป็นแบบไหนก็ตาม

    Tip อีกที: ถ้ามีรางวัลมอบให้ จะยิ่งทำให้การแข่งขันยิ่งสนุกมากขึ้น และ Engagement ก็จะมากขึ้นด้วยครับ!

     


     

    บทส่งท้าย

    เสาหลักทั้ง 5 ที่เราพูดถึงไป เป็นแค่ยอดภูเขาน้ำแข็งของวิธีการจำนวนมากมายในการทำให้งานอีเวนต์ของคุณมี Engagement ที่สูงขึ้น แต่วิธีเหล่านี้เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดที่สามารถทำได้ทันที ก่อนที่คุณจะลองลงรายละเอียดกับเครื่องมืออื่นๆ ในท้องตลาดที่มีให้เลือกอีกมากมาย

    แต่ก่อนจะตัดสินใจเลือกฟีเจอร์ใดๆ มาใช้กับงานอีเวนต์ ทางเราอยากแนะนำให้คุณผู้อ่านย้อนกลับไปถามตัวเองในจุดเริ่มต้นก่อนว่า เราอยากได้อะไรกลับมาจากการทำกิจกรรมเหล่านี้? เพราะนอกจากความหวือหวาสนุกสนาน บางอย่างอาจไม่ได้จำเป็นสำหรับงานของคุณก็ได้

    ทาง Happenn เราเองก็ทำการพัฒนาเสาหลักแห่ง Engagement ทั้งห้านี้มาเรื่อยๆ ตลอดหลายปีที่ทำซอฟต์แวร์งานอีเวนต์กันมา เพื่อให้มั่นใจว่าระบบของเราจะสามารถช่วยทำให้คุณสามารถจัดงานอีเวนต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเมื่อเวลานั้นมาถึง และถ้าหากคุณผู้อ่านยังพอมีเวลา เราขอแนะนำให้ลองดูรายละเอียดในหน้า Audience Engagement Tools และ Games เพื่อดูว่าเราสามารถช่วยอะไรในงานอีเวนต์คุณได้อีกบ้าง (สปอยล์: มีมากกว่า 5 หัวข้อที่พูดถึงไปแล้วแน่นอน)