Notice: Function _load_textdomain_just_in_time was called incorrectly. Translation loading for the wordpress-seo domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /var/www/web2.happenn.com/wp-includes/functions.php on line 6114
5 ข้อมูลเชิงลึกที่เราได้เรียนรู้ จากการจัดอีเวนต์ออนไลน์ในปี 2021 มานับไม่ถ้วน | Happenn
บล็อก
งานอีเวนต์แบบออนไลน์

5 ข้อมูลเชิงลึกที่เราได้เรียนรู้ จากการจัดอีเวนต์ออนไลน์ในปี 2021 มานับไม่ถ้วน

เขียนเมื่อ FEB 10, 2022

การระบาดของโควิด-19 คือจุดเปลี่ยนสำหรับหลายธุรกิจ โดยเฉพาะกับธุรกิจงานอีเวนต์แบบออฟไลน์ ที่ผู้คนมารวมตัวและคุยกันถึงเรื่องที่ตัวเองสนใจร่วมกัน หรือมาสนุกไปด้วยกัน และในฐานะองค์กรด้านเทคโนโลยีระดับมืออาชีพสำหรับผู้จัดงานอีเวนต์ ทาง Happenn เองก็ได้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงนี้กับตาเราเอง และได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ จากจุดเปลี่ยนที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ของธุรกิจอีเวนต์ในครั้งนี้ และนี่คือสิ่งที่เราได้เรียนรู้จากมีส่วนร่วมการจัดงานอีเวนต์ออนไลน์นับครั้งไม่ถ้วนตลอดปี 2021 ที่ผ่านมา

 

โจทย์เปลี่ยนไป แต่เป้าหมายยังคงเดิม

ลูกค้าของ Happenn แทบทุกรายที่ใช้บริการของเราในปี 2021 ได้เปลี่ยนการโฟกัสจากการจัดงานอีเวนต์ออฟไลน์มาเป็นแบบออนไลน์​ (Virtual) แทน (โดยที่มีความสนใจในงานประเภทลูกผสม Hybrid อยู่บ้างเล็กน้อย) แต่การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงแค่ “รูปแบบ” ของงานเท่านั้น เพราะหัวใจหลักของงานอีเวนต์ยังคงเดิม คือการนำผู้คนมารวมตัวในที่เดียวกัน และเปิดให้พวกเขาสร้างปฏิสัมพันธ์กันในเรื่องที่มีความสนใจ

และนั่นหมายความว่า ต่อให้ไม่มีสถานที่จริงให้ผู้ร่วมงานเดินทางมาเยี่ยมชม การจัดงานอีเวนต์ก็ไม่ได้ยากน้อยลง กลับกันความท้าทายกลับเพิ่มขึ้นสูงกว่าด้วยซ้ำ เพราะงานอีเวนต์ออนไลน์นั้นไม่ใช่ “งานอีเวนต์ออฟไลน์ที่สเกลเล็กลง” เพราะต่อให้ไม่มีสถานที่ คุณก็จะยังต้องการแพลตฟอร์มสำหรับจัดงาน ไม่มีเวทีหลัก คุณก็ยังต้องการระบบไลฟ์สตรีมมิง หรือการไม่มีเคาน์เตอร์ลงทะเบียน คุณก็ยังต้องการระบบลงทะเบียนออนไลน์ที่ดี เป็นต้น

 

ประสบการณ์ผู้ใช้งาน (UX) เป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับอีเวนต์ออนไลน์

ในเวลาที่เราจัดงานอีเวนต์แบบออฟไลน์ในสถานที่จริง เราจะไม่ต้องกังวลเรื่องทิศทางการเดินในงานมากนัก เพราะเราจะเห็นประตู สัญลักษณ์บอกทาง แผนที่ต่าง ๆ รวมถึงบูธประชาสัมพันธ์ให้สอบถามเรื่องต่างๆ ได้อยู่แล้ว แต่เมื่อย้ายมาจัดงานบนโลกออนไลน์ หน้าที่การนำทางผู้ร่วมงานจะตกมาเป็นของผู้ออกแบบแพลตฟอร์มทันที เพราะผู้คนสามารถหลงทางได้ง่ายกว่ามาก ๆ

คุณจะทำยังไงถ้าจู่ๆ ต้องเปลี่ยนจากการจัดงานอีเวนต์ขนาดใหญ่ แต่ต้องย้ายมาจัดงานออนไลน์กระทันหันเพราะมีการระบาดของโควิด-19? คุณจะจัดพื้นที่โซนต่างๆ ให้ผู้ร่วมงานยังไง? พวกเขาควรจะได้เห็นอะไรเป็นอย่างแรกหลังลงทะเบียนเสร็จเรียบร้อย ต้องคลิกตรงไหนเพื่อจะย้ายจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง จะใส่วิดเจ็ตต่างๆ ตรงไหนดี จัดว่ามีเรื่องให้ต้องพิจารณาในการจัดงานหลายอย่างมากๆ

อาจจะไม่ใช่เรื่องยากถ้ากลุ่มเป้าหมายผู้ร่วมงานของคุณคุ้นเคยกับเทคโนโลยีเหล่านี้ แต่ถ้าเป็นกลุ่มอื่น การออกแบบรูปแบบของงานก็ถือว่ามีความท้าทายไม่น้อยเหมือนกัน

 

เมตาเวิร์ส “ไม่เท่ากับ” งานอีเวนต์ออนไลน์

คำศัพท์ “เมตาเวิร์ส” (Metaverse) เป็นที่นิยมขึ้นมาในปี 2021 หลังจากที่เฟซบุ๊กประกาศว่าจะสร้างแพลตฟอร์มของตนเอง ผลลัพธ์คือสิ่งนี้กลายป็นคำศัพท์ยอดนิยมของนักการตลาดสายอีเวนต์บางส่วน แต่เนื่องจากสิ่งนี้ยังเป็นเรื่องใหม่ หลายคนจึงเกิดความเข้าใจผิดและคิดว่างานอีเวนต์ออนไลน์คือรูปแบบหนึ่งของสิ่งที่เรียกว่า เมตาเวิร์ส

“นักเขียนชื่อ นีล สตีเฟนสัน ถูกเรียกว่าเป็นผู้คิดค้นคำว่า ‘เมตาเวิร์ส’ ขึ้นมาเพื่อใช้ในนิยายแนวไซไฟเรื่อง Snow Crash ของเขาที่ออกมาในปี 1992 ซึ่งเขาได้เขียนบรรยายไว้ว่าเป็นการพบปะกันของอวตารในโลก 3 มิติที่สมจริง ท่ามกลางสภาพแวดล้อมของโลกความจริงเสมือน”—USA Today

หากเราอ้างอิงตามนิยามดั้งเดิมในรากฐานของคำคำนี้ เท่ากับว่ามีปัจจัยสามข้อที่จะเป็นตัวกำหนดว่าสิ่งๆ นั้นเป็นเมตาเวิร์สหรือไม่ หนึ่งคืออวตารของคุณ สองคือสภาพแวดล้อมในโลกสมือนจริง และสามคือ มันเป็นโลก 3 มิติใช่หรือไม่ และนั่นหมายความว่า การสร้างแพลตฟอร์มงานอีเวนต์ออนไลน์บนเว็บไซต์ สำหรับงานอีเวนต์ที่จัดขึ้นเพียงชั่วคราว จะไม่มีทางเป็นเมตาเวิร์สได้ ไม่ว่ามันจะดูล้ำสมัยแค่ไหนก็ตาม แต่คำกล่าวที่ว่า เมตาเวิร์สคืออนาคตของงานอีเวนต์ออนไลน์ นั้นก็เป็นสิ่งที่ไม่สามารถปฏิเสธได้เช่นกัน

 

การออกแบบเสมือนจริง (Skeuomorphism) ก็กลับมาเหมือนกัน

ในขณะที่อุปกรณ์อัจฉริยะต่างๆ พากันทำส่วนติดต่อผู้ใช้งานให้เรียบง่ายขึ้น งานอีเวนต์กลับมุ่งไปในทางที่สมจริงขึ้นเรื่อยๆ

เรื่องนี้เกี่ยวกับการออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้งาน (User Experience Design) ที่เราพูดถึงไปก่อนหน้า เมื่อเราต้องเปลี่ยนงานอีเวนต์จากออนไลน์เป็นออนไลน์ในทันที กลุ่มเป้าหมายของเรา (ในกรณีนี้ก็คือผู้ร่วมงาน) ที่ไม่ได้คุ้นเคยกับงานอีเวนต์รูปแบบออนไลน์อาจรู้สึกสับสนขึ้นมาได้ เมื่อพวกเขาต้องร่วมงานในรูปแบบนี้เป็นครั้งแรก ต้องคลิกตรงไหน? กดปุ่มนี้แล้วจะได้เจอกับใคร และอีกหลายข้อสงสัย คำออกเสียงยากๆ อย่าง Skeuomorphism คือรูปแบบการสื่อสารที่ดีที่สุด และดูจะประนีประนอมกับกลุ่มเป้าหมายเหล่านี้ที่สุดอีกด้วย

การออกแบบสไตล์ Skeuomorphism คือการเลียนแบบสิ่งที่มีอยู่ในโลกแห่งความเป็นจริง เพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้งาน และลด learning curve ในการเรียนรู้การใช้งานต่างๆ ให้ยากน้อยลง โดยเฉพาะกับคนที่ไม่คุ้นเคยกับเทคโนโลยี (และคนกลุ่มนี้มีจำนวนมาก โดยเฉพาะเวลาที่คุณจัดงานที่มี theme แบบเฉพาะเจาะจง) ในกรณีของเรา การออกแบบสถานที่จัดงานออนไลน์ให้ออกมาในรูปแบบ 3 มิติ ช่วยให้ผู้ร่วมงานใช้แพลตฟอร์มได้ง่ายขึ้น

 

การจัดงานอีเวนต์ออนไลน์กำลังอยู่ในช่วงที่ท้าทายที่สุด

พวกเราทั้งหมดใน Happenn เห็นตรงกันว่านี่คือช่วงขาขึ้นของงานอีเวนต์ออนไลน์​ แต่ (มีแต่) การปะทุของธุรกิจใดๆ ก็ตาม ไม่ได้แปลว่าทุกคนจะสามารถทำให้ออกมาดีได้ งานอีเวนต์ออนไลน์กลายเป็นสนามที่มีการแข่งขันกันสูงขึ้นที่สุดยิ่งกว่าช่วงไหนๆ ในประวัติศาสตร์ของการจัดงานอีเวนต์ ซึ่งนั่นก็มาจากการที่ทุกคนหันมาทำสิ่งนี้กันแทนแล้ว

สิ่งนี้สามารถเป็นข้อพิสูจน์ได้หนึ่งเรื่อง คือ ยังมีโอกาสให้ตักตวงอีกมากจากงานอีเวนต์ ความเป็นไปได้จำนวนไม่จำกัดกำลังรออยู่ เทคโนโลยีพร้อมสำหรับคุณแล้ว สิ่งที่คุณต้องตั้งคำถามกับตัวเองจึงเหลือแค่เรื่องเดียว คือ คุณพร้อมแล้วหรือยังกับการจัดงานอีเวนต์ออนไลน์ของตัวคุณเอง

 

โปรดเยี่ยมชมเพจเฟซบุ๊กอย่างเป็นทางการของ Happenn หากต้องการดูข้อมูลอัปเดตล่าสุด​ โปรโมชันต่างๆ หรือข้อมูลอื่นๆ ที่คุณกำลังมองหา