ปี 2023 เดินมาจนเลยจุดกึ่งกลางไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และสำหรับโลกอุตสาหกรรมอีเวนต์ นี่คืออีกหนึ่งหมุดหมายสำคัญในการย้อนกลับไปทบทวนหกเดือนที่ผ่านมา ก่อนจะเดินหน้าไปต่อในอีกสองไตรมาสที่เหลือของปี เราอยากชวนคุณหยุดพักสั้นๆ กันตรงนี้เพื่อดูข้อมูลที่น่าสนใจ ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถทำงานในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ต่อไปได้อย่างราบรื่นขึ้นยิ่งกว่าเดิม
ในบล็อกนี้ เราได้รวบรวมข้อมูลสถิติต่างๆ ในอุตสหากรรมงานอีเวนต์ที่น่าสนใจ ที่จะช่วยให้คุณมองไปในอนาคตอันใกล้ที่กำลังจะมาถึงได้ชุดเจนยิ่งขึ้น ทั้งในมุมของผู้ร่วมงาน ไปจนถึงมุมมองเบื้องหลังจากฝั่งการตลาด และในกรณีที่คุณผู้อ่านต้องการลงรายละเอียดให้ลึกขึ้น ทางเราได้ทำการรวบรวมลิงก์แหล่งข้อมูลต่างๆ ไว้ให้ที่ด้านล่างของบล็อกนี้ด้วยเช่นกันครับ
นักการตลาดงานอีเวนต์ 97% มองว่างานประเภท In-Person ขาดไม่ได้
ตามรายงานของ Bizzaboo นักการตลาดสายงานอีเวนต์แทบทั้งหมดเห็นตรงกันว่า พวกเขายังต้องการงานอีเวนต์ประเภทดั้งเดิม ที่ต้องพบกันในสถานที่จริง หรือ In-Person Event ในการบรรลุเป้าหมายของการทำงาน หากคุณกำลังลังเลว่าจะจัดงานอีเวนต์แบบ Virtual เหมือนที่เคยทำมาในช่วงที่โควิด-19 ระบาดหนักๆ ก่อนหน้านี้ดีหรือไม่ ข้อมูลตรงนี้สามารถช่วยยืนยันได้ว่าไม่จำเป็น และถึงเวลาที่จะต้องกลับมาหาโลกใบเดิม ซึ่งเป็นนิยามของคำว่า “อีเวนต์” แบบที่เราคุ้นเคยกันมาตลอด
ซึ่งข้อมูลตรงนี้ก็ช่วยยืนยันได้ว่า บริษัทต่างๆ พร้อมแล้วกับการลงทุนในงานอีเวนต์ประเภท On-Site หรือ In-Person อย่างเต็มที่ ในรายงานชิ้นดังกล่าวยังบอกอีกด้วยว่ามีบริษัทราว 24% ที่ทุ่มงบการตลาดไปกับการจัดงานอีเวนต์ประเภท In-Person มากถึง 51% ของงบประเมาณทั้งหมด ซึ่งเมื่ออ่านมาถึงตรงนี้ หากคุณยังคงลังเลว่าจะจัดงานอีเวนต์ประเภทไหนดี เราขอแนะนำให้เลือกจัดในสถานที่จริงไปได้เลย เพราะน่าจะเป็นตัวเลือกเดียวสำหรับช่วงเวลานี้ไปอีกพักใหญ่ครับ
ไม่จำเป็นต้องซับซ้อน เพราะ 64% ของบริษัทระดับ Global วัดผลความสำเร็จของอีเวนต์ด้วยจำนวนผู้ร่วมงาน
ในการจัดงานอีเวนต์ เราสามารถตั้งเป้าหมายในการวัดความสำเร็จได้หลายรูปแบบ แต่รายงานของ Statista ระบุว่า มีบริษัทระดับโกลบอลจำนวนถึง 64% ยังใช้การวัดผลด้วยจำนวนผู้ร่วมงานอยู่ ซึ่งเป็นวิธีที่ตรงไปตรงมาที่สุด และข้อมูลส่วนนี้สามารถนำมาตีความได้ในหลายรูปแบบ เช่นความสำเร็จของการทำมาร์เก็ตติงให้กับงานครั้งนั้นๆ หรือจำนวนคนที่เห็นโลโก้เหล่าสปอนเซอร์ผู้สนับสนุนงานระหว่างที่อีเวนต์กำลังดำเนินไป เป็นต้น
และยังมีตัวชี้วัดความสำเร็จอื่นๆ ที่บริษัทต่างๆ นิยมใช้กันอีกหลายรูปแบบตามที่เราลิสต์มาให้ด้านล่าง
• Leads (ข้อมูลของผู้ที่มีแนวโน้มเปลี่ยนมาเป็นลูกค้า): 56%
• การรับรู้ของแบรนด์: 48%
• การถูกพูดถึงบนสื่อต่างๆ: 41%
• ยอดขายที่ได้จากการจัดงาน: 40%
ของฟรีดีต่อใจเสมอ งานอีเวนต์กว่า 80% เลือกใช้วิธีเปิดให้เข้างานแบบไม่คิดค่าใช้จ่าย
ข้อมูลจาก Bizzabo ข้อนี้ช่วยยืนยันกับเราได้ว่า สปอนเซอร์ ยังคงจำเป็นสำหรับงานอีเวนต์ของคุณเป็นอย่างมาก เพราะการจัดงานจะง่ายกว่ามากถ้าคุณมีงบประมาณสำหรับจัดการสิ่งต่างๆ ตั้งแต่แรกเริ่ม แทนที่จะไปลุ้นยอดขายบัตรเข้างานหลังจากประกาศออกไปแล้ว (หากงานนั้นๆ ไม่ได้มีความเอ็กซ์คลูซีฟมากพอ เพราะอย่าลืมว่าไม่ใช่ทุกงานอีเวนต์บนโลกที่จะดึงดูดคนได้ระดับคอนเสิร์ตของเทย์เลอร์ สวิฟต์)
เพราะฉะนั้น ในการจัดงานอีเวนต์ครั้งต่อไป เราแนะนำให้คุณเน้นไปที่การหาผู้สนับสนุนหลักของงานไว้แต่เนิ่นๆ ซึ่งก็จะตามมาด้วยคำถามหลายข้อที่ต้องตอบให้ได้ตั้งแต่ต้น เช่น สปอนเซอร์คนนั้นควรจะเป็นใคร? ผลตอบแทนที่งานเรามีให้คุ้มค่าแก่การของทุนของพวกเขาหรือไม่? เรามีพื้นที่ให้โลโก้สปอนเซอร์ขึ้นในงานมากพอหรือไม่? เป็นต้น แต่อย่างน้อยเราก็ได้ทิศทางในการเตรียมงานที่ชัดเจนแล้วว่าควรจะเดินไปทางไหน สำหรับในเรื่องของเงินทุนครับ
แต่ก็มีงานอีเวนต์จำนวนไม่น้อยที่ได้รับความสนใจแม้จะเก็บค่าเข้าก็ตาม แค่คุณจำเป็นจะต้องวางแผนอย่างรอบคอบมากๆ เพราะการลุ้นค่าบัตรมีความท้าทายมากกว่าการหาผู้สนับสนุนด้านการเงินของงานอยู่มากทีเดียว
ผู้ร่วมงานอีเวนต์ราว 65% บอกว่าการร่วมงานอีเวนต์ทำให้เข้าใจสินค้าและบริการมากขึ้น
งานอีเวนต์แบบพบหน้ากันตัวเป็นๆ ดีกว่าเสมอในแง่ของการสื่อสาร มีข้อมูลน่าสนใจชุดหนึ่งจาก Aventri ระบุว่ามีผู้ร่วมงานอีเวนต์ราว 65% ที่เข้าใจตัวสินค้าและบริการได้มากขึ้นเมื่อมาร่วมงานอีเวนต์ด้วยตนเอง และยิ่งไปกว่านั้น มีคนราว 70% ที่เปลี่ยนมาเป็นลูกค้าประจำหลังจากได้รับทราบข้อมูลจากงานอีเวนต์ของคุณมาก่อน
เพราะงานอีเวนต์ประเภท In-Person จะเปิดให้คุณสาธิตผลิตภัณฑ์หรือบริการต่างๆ ได้อย่างหลากหลาย มากกว่าแค่การเขียนรายละเอียดบนเว็บไซต์หรือโซเชียลมีเดียของบริษัท สามารถเปิดให้ผู้ร่วมงานลองใช้ หรือปิดการขาย ณ เวลานั้นได้ในงานทันที รวมถึงสามารถทำโปรโมชันส่วนลดต่างๆ แบบเอ็กซ์คลูซีฟสำหรับงานอีเวนต์นั้นๆ โดยเฉพาะเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้คน และเปลี่ยน Leads ที่กำลังสนใจให้กลายมาเป็นลูกค้าเดี๋ยวนั้นได้ทันทีอีกด้วยเช่นกัน
งานอีเวนต์ประเภทวันเดียวได้รับความนิยมสูงสุด
ในขณะที่งานอีเวนต์ที่จัดต่อเนื่องหลายวันเปิดให้ผู้ร่วมงานเลือกมาร่วมงานในวันที่สะดวกได้ ในทางกลับกันก็เป็นการเพิ่มต้นทุนให้ผู้จัดงานเช่นกัน รวมไปถึงขั้นตอนงานต่างๆ ที่ต้องคอยจัดการหลังบ้านตลอดการจัดงาน รายงานชิ้นหนึ่งจาก Splash ระบุว่า จำนวนงานอีเวนต์ประเภทคอนเฟอเรนซ์ที่จัดแค่วันเดียว มีมากถึง 54% เลยทีเดียว
เหตุผลหนึ่งที่ผู้คนเลือกจะจัดงานวันเดียวมากกว่ามีหลายข้อ หนึ่งคือเรื่องของงบประมาณ เพราะน้อยวันก็หมายถึงงบประมาณที่น้อยลงตามไป เหตุผลที่สองคือการจัดงานที่ง่ายกว่า เพราะใช้เวลาในการจัดงานที่สั้นกว่า และการจัดงานอีเวนต์แค่หนึ่งวันช่วยให้บรรยากาศของงานมีความ Exclusive กว่า และช่วยกระตุ้นให้ผู้คนรีบลงทะเบียนหรือซื้อบัตรเข้างานได้เร็วกว่า เนื่องจากคนที่สนใจจริงๆ จะไม่อยากพลาดงานนั้นๆ แน่นอน หากอ่านมาถึงตรงนี้แล้วคุณผู้อ่านอยากรู้ข้อดีและข้อเสียของการจัดงานอีเวนต์แบบวันเดียว และแบบหลายวันเพิ่มเติม เราแนะนำบทความของ InEvent ชิ้นนี้ครับ
คนทำงานสายอีเวนต์แพลนเนอร์กว่า 40% ยังไม่พอใจกับเทคโนโลยีของงานอีเวนต์ในตอนนี้
หากคุณเป็นอีกคนที่ยังรู้สึกผิดหวังกับเทคโนโลยีต่างๆ ในงานอีเวนต์ทุกวันนี้ มีคนอีกไม่น้อยที่รู้สึกไม่ต่างกันครับ รายงานของ Exploding Topics ระบุว่าคนทำงานสายอีเวนต์แพลนเนอร์ราวๆ 40% รู้สึกแบบนี้เช่นกัน
แต่ถึงจะเป็นแบบนั้น เทคโนโลยีงานอีเวนต์ในช่วงการระบาดของโควิด-19 ที่ผ่านมาก็พัฒนาขึ้นอย่างก้าวกระโดดทีเดียว ทั้งการกลายเป็นที่นิยมของวัฒนธรรมการประชุมออนไลน์ แพลตฟอร์มทำสัมมนาและงานอีเวนต์ออนไลน์ที่คุณภาพดีขึ้นมาก ไปจนถึงเทคโนโลยีต่างๆ สำหรับใช้ในงานอีเวนต์ที่ดีขึ้นกว่าก่อนการมาถึงของโรคระบาดครั้งนี้มาก
แม้จะเป็นยุคโซเชียล แต่อีเมลยังจำเป็นสำหรับโลกของงานอีเวนต์
อย่างที่เห็นกันจนชินตาว่า ณ ปัจจุบันนี้ผู้คนหันมาใช้เวลาบนโลกออนไลน์กับโซเชียลมีเดียกันมากกว่าการอ่านอีเมล ทว่า วิธีการสื่อสารแบบดั้งเดิมอย่างการส่งอีเมลยังเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการจัดงานอีเวนต์ รายงานของ Zippia ระบุว่า นักการตลาดสายงานอีเวนต์กว่า 87% ยังใช้การสื่อสารผ่านอีเมลเป็นหลักอยู่ (รองจากโซเชียลมีเดียที่ 89%)
สำหรับเหตุผลว่าทำไมอีเมลยังคงเป็นเครื่องมือที่ใช้ได้ดี เราสามารถอธิบายออกมาได้หลักๆ 3 ข้อด้วยกัน
• โซเชียลมีเดียมีความเร็วมากเกินไปในการพูดถึงสิ่งต่างๆ แบบลงรายละเอียด และงานอีเวนต์มักเป็นเรื่องของรายละเอียดเป็นหลัก
• เราสามารถกลับมาค้นข้อมูลต่างๆ ของงานอีเวนต์จากอีเมลได้ง่ายกว่าหน้าฟีดของโซเชียลมีเดียที่มักมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
• ผู้ส่งอีเมลสามารถปรับแต่งข้อความให้ตอบโจทย์ตามที่ต้องการสื่อสารได้มากกว่าแค่ ตัวหนังสือ หรือ รูปภาพ ซึ่งเป็นฟอร์แมตบังคับของโซเชียลมีเดียส่วนใหญ่แทบทุกเจ้า
Our Sources
ข้อมูลทั้งหมดในบล็อกนี้ถูกรวบรวมจากหลายแหล่ง และเป็นเพียงส่วนหนึ่งบนยอดภูเขาน้ำแข็งที่มีอยู่เต็มไปหมดบนอินเทอร์เน็ต ณ เวลานี้ หากคุณต้องการขุดลึกลงไปในรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับสถิติต่างๆ ของธุรกิจอีเวนต์เหล่านี้เพื่อใช้ในการประกอบการตัดสินใจ สามารถเข้าไปดูในลิงก์ต่างๆ ที่เรารวบรวมไว้ได้ด้านล่างครับ
• truelist.co/blog/event-industry-statistics
• truelist.co/blog/event-marketing-statistics
• 99firms.com/blog/event-industry-statistics
• 99firms.com/blog/event-marketing-statistics
• zippia.com/advice/event-industry-statistics
ให้เทคโนโลยีเพื่องานอีเวนต์ของเรา ทำให้งานอีเวนต์ของคุณออกมาดียิ่งขึ้น
Happenn มีโซลูชันด้าน Event Technology ที่สามารถช่วยให้คุณจัดการงานอีเวนต์ออกมาได้ดียิ่งขึ้น ตั้งแต่ระบบลงทะเบียนออนไลน์ที่เป็นมิตรต่อผู้ใช้งาน ไปจนถึงแอปพลิเคชันงานอีเวนต์ระดับมืออาชีพ ที่สามารถทำได้ทั้งเช็กอินผู้คนเข้างาน ไปจนถึงช่วยให้ผู้ร่วมงานของคุณสามารถ Engage กับงานได้มากขึ้น
หากต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถเข้าไปดูได้ที่หน้า ผลิตภัณฑ์ บนเว็บไซต์ของเรา หรือติดต่อเราผ่านแบบฟอร์มที่ลิงก์นี้ หรือส่งอีเมลหาเราโดยตรงได้ที่อีเมล hello@happenn.com ทีมงานของเราจะติดต่อกลับพร้อมคำตอบทุกข้อสงสัยของคุณโดยเร็วที่สุดครับ