บล็อก
การตลาดงานอีเวนต์

8 ปัจจัยสำคัญ ที่จะทำให้คุณอ่านโพลเลือกตั้งได้อย่างแม่นยำยิ่งกว่าเดิม

เขียนเมื่อ MAY 1, 2023

ยิ่งการเลือกตั้งใกล้จะมาถึงมากเท่าไหร่ สำนักข่าวต่างๆ ก็มีการทำโพลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเพื่อทำนายผลการเลือกตั้งกันออกมาถี่ขึ้นตามไปด้วย ในฐานะที่พวกเราเองก็ทำงานเกี่ยวกับโพลและข้อมูลมาไม่น้อย สิ่งหนึ่งที่เราอยากบอกก็คือ การอ่านแค่ค่าเปอร์เซ็นต์ผลลัพธ์ที่ถูกสรุปมาแล้วเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ

บทความชิ้นนี้เราจะอธิบายให้คุณเข้าใจมากขึ้นถึงความสำคัญว่าทำไมเราจึงควรวิเคราะห์ผลโพลเพิ่มเติมเองในบางครั้ง แม้ว่าจะตัดสินใจได้แล้วว่าจะเลือกพรรคไหน แต่การเข้าใจโพลต่างๆ ที่มีในช่วงนี้ก็จะช่วยให้เราสามารถเข้าใจในความคิดเห็นและทัศนคติของสังคม ณ ช่วงเวลาหนึ่งได้มากขึ้น

สิ่งที่เราลิสต์ไว้ในบล็อกนี้จะทำให้คุณเข้าใจทั้งความคิดเห็นและทัศนคติที่ผผู้คนมีต่อการเลือกตั้งครั้งนี้ได้มากขึ้น และก็จะทำให้คุณสามารถอ่านโพลต่างๆ ได้อย่างครบถ้วนและแม่นยำมากขึ้นไปพร้อมๆ กันด้วย

 

ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง (Sample Size)

ขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่ทำการสำรวจคือปัจจัยสำคัญที่สะท้อนความแม่นยำของโพลทุกชิ้น โดยทั่วไปแล้ว Sample Size ที่มีจำนวนมากจะสามารถสะท้อนความเห็นของประชากรได้มากกว่าอย่างสอดคล้องกัน และก็สะท้อนความเห็นของสังคมต่อการเลือกตั้งได้แม่นยำกว่าด้วยเช่นกัน และในทางกลับกันกลุ่มตัวอย่างที่เล็กก็อาจนำไปสู่ความไม่แม่นยำรวมถึงอคติที่จะปรากฎให้เห็นจากผลโพลในท้ายที่สุด

เว็บไซต์ Tools4dev.org ให้ข้อมูลไว้ว่ากลุ่มตัวอย่างในการทำโพลขนาด 100 คนคือจำนวนขั้นต่ำของการทำโพลหนึ่งชิ้น และจำนวนกลุ่มตัวอย่างในอุดมคติที่ควรจะเป็นก็คือ 10% ของจำนวนประชากร แต่ไม่เกิน 1,000 คน เพราะต่อให้มีกลุ่มตัวอย่างที่มากกว่า 1,000 คนก็ไม่ได้ช่วยให้ความแม่นยำของโพลเพิ่มขึ้นมากนัก และจะกลายเป็นการเพิ่มต้นทุนให้กับการทำโพลโดยใช่เหตุ สำหรับกลุ่มประชากรที่มีจำนวนมากกว่า 200,000 คนขึ้นไป การใช้กลุ่มตัวอย่างที่ราวๆ 1,000 คนถือว่าเพียงพอต่อการนำเสนอข้อมูลที่แม่นยำแล้ว

 

วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่าง (Sampling Method)

วิธีการในการเลือกกลุ่มตัวอย่างสำหรับโพลก็มีลผกระทบกับความแม่นยำของโพลเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น โพลที่เลือกใช้กลุ่มตัวอย่างแบบสุ่มจะดูมีความเชื่อถือได้มากกว่าชิ้นที่ผู้ทำโพลเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยตัวเองแบบเฉพาะเจาะจง เพราะการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่มหมายถึงการที่คนทุกประเภทจะมีโอกาสถูกเลือกมาสำรวจความเห็นอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งจะช่วยให้โพลชิ้นนั้นๆ เป็นตัวแทนความเห็นของผู้คนได้ชัดเจนกว่า

 

ค่าความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

โพลทุกชิ้นจะมี Margin of Error เป็นของตัวเอง ความไม่แน่นอนตรงนี้เป็นเรื่องธรรมชาติของแบบสำรวจที่ทำกับกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่ม ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นมากที่เราจะต้องเข้าใจค่าความคลาดเคลื่อนตรงนี้ และใช้ข้อมูลตรงนี้เป็นหนึ่งในปัจจัยในการวิเคราะห์โพล การเข้าใจช่องว่างตรงนี้จะทำให้คุณสามารถมองผลโพลได้อย่างแม่นยำมากขึ้น

ซึ่งเจ้า Margin of Error ตรงนี้จะลดลงเรื่อย ๆ แปรผันตามจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่ทำการสำรวจ ซึ่งจะมีสูตรในการคำนวณค่าความคลาดเคลื่อนตรงนี้อยู่ว่า = 1 หาร Square Root ของจำนวนคนในกลุ่มตัวอย่าง ยกตัวอย่างเช่นถ้าโพลชิ้นนั้นบอกว่ามีค่าความคลาดเคลื่อนอยู่ที่ 2.5% นั่นหมายถึงถ้าคุณทำโพลด้วยหัวข้อนั้นๆ 100 ครั้ง ผลลัพธ์ที่ได้จากผู้ร่วมทำแบบสอบถามจะออกมาเหมือนกันกับผลโพลแรกสุดที่ได้มาอย่างน้อย 95 จาก 100 ครั้งที่ทำ ซึ่งการดูโพลหลายๆ ชิ้นก็จะทำให้คุณสามารถทำความเข้าใจความคิดของผู้คนที่มีต่อเรื่องนั้นๆ ได้แม่นยำขึ้นกว่าเดิม (robertniles.com)

 

ข้อมูลประชากร (Demographics)

ข้อมูลประชากร หรือ Demographic ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในการนำมาพิจารณาควบคู่ด้วยทุกครั้งเมื่ออ่านโพล เพราะปัจจัยอย่างอายุ เพศ เชื้อชาติ หรือมุมมองทางการเมืองสามารถก็สามารถส่งผลต่อแนวคิดที่จะสะท้อนออกมาผ่านโพลได้ทั้งหมด จึงเป็นเรื่องสำคัญมากที่เราจะต้องเข้าใจ Demographic ของกลุ่มตัวอย่างเหล่านี้ ว่าสามารถใช้เปรียบเทียบกับกลุ่มประชากรทั้งหมดได้มากน้อยแค่ไหนและอย่างไร

 

การเลือกใช้คำและลำดับคำถาม (Question Wording and Order)

การเลือกใช้ Wording ต่างๆ และลำดับของคำถามก็ส่งผลกระทบกับผลลัพธ์ของการทำโพลเช่นกัน เพราะวิธีการนำเสนอคำถามสามารถกำหนดแนวทางของการตอบได้ จึงเป็นเรื่องสำคัญมากที่จะต้องเข้าใจบริบทและรูปแบบของคำถามในการทำโพลชิ้นนั้นๆ

 

อคติ (Bias)

องค์กรหรือหน่วยงานที่ทำโพลเองก็อาจเป็นหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดอคติ ซึ่งมีโอกาสกระทบกับโพลที่ทำออกมาด้วยเช่นกัน เพราะฉะนั้นการย้อนดูการนำเสนอผลโพลชิ้นเก่าๆ ของสำนักโพลนั้นๆ จึงเป็นอีกเรื่องที่ไม่ควรปล่อยผ่านเช่นกัน และนอกจากเรื่องของสำนักโพลแล้ว Bias ในการทำโพลอาจอยู่ในการตั้งคำถามหรือการเลือกกลุ่มตัวอย่างได้ด้วยเช่นกัน ต้องพิจารณาให้ดี

 

ความนิยม ณ ช่วงเวลาหนึ่ง (Trend Over Time)

Trend Over Time คืออีกปัจจัยที่จะช่วยให้คุณมองผลโพลได้อย่างมีความเข้าใจมากขึ้น เพราะเป็นการมองความคิดและทัศนคติที่เปลี่ยนแปลงไปในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน ซึ่งตรงนี้ก็จะทำให้คุณได้ข้อมูลเชิงลึก (Insights) ว่าการเลือกตั้งกำลังดำเนินไปในทิศทางไหนได้อย่างชัดเจนขึ้น วิธีนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจบริบทของโผลชิ้นล่าสุดที่กำลังดูได้เป็นอย่างดี

 

ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง (Contextual Factors)

และสุดท้าย การวิเคราะห์ผลโพลจะดูแต่ตัวผลลัพธ์อย่างเดียวโดดๆ ไม่ได้ เพราะจะมีเรื่องของปัจจัยอื่นๆ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ว่าสถานการณ์ปัจจุบันระหว่างทำโพลชิ้นนั้นเป็นอย่างไร บรรยากาศทางการเมือง ณ ตอนนั้น รวมถึงข้อมูลในช่วงที่ผ่านมาก่อนหน้านี้ การเข้าใจข้อมูลเหล่านี้ประกอบจะช่วยให้คุณเข้าใจตัวโพลชิ้นนั้นๆ ได้มากกว่า และยิ่งคุณมีข้อมูลบริบทแวดล้อมประกอบมอบแค่ไหน คุณก็จะสามารถอ่านผลลัพธ์ของโพลชิ้นนั้นๆ ออกมาได้อย่างแม่นยำมากยิ่งขี้นไปอีกระดับ

 

โพลเลือกตั้งเป็นผลสำรวจที่มีความซับซ้อน

และจำเป็นจะต้องมีความระมัดระวังในหลายปัจจัยมากๆ รวมถึงการนำเสนอโผลแต่ละครั้งก็เต็มไปด้วยปัจจัยมากมาย ทั้งขนาดของกลุ่มตัวอย่าง วิธีการสำรวจ ไปจนถึงค่าความคลาดเลื่อนต่างๆ แต่การเข้าใจพื้นฐานเหล่านี้ไว้จะทำให้คุณสามารถอ่านโพลได้อย่างแม่นยำ และสามารถใช้ข้อมูลที่ได้มาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้แล้วยังจำเป็นมากๆ ที่ผู้อ่านโพลจะต้องระวังเกี่ยวกับอคติที่อาจจะเกิดขึ้นได้ และมองโพลในบริบททางการเมืองที่ครอบคลุม ด้วยความเข้าใจปัจจัยเหล่านี้ที่ครบถ้วน คุณจะสามารถตีความผลสำรวจช่วงเลือกตั้งและตัดสินใจเรื่องต่างๆ ผ่านข้อมูลที่ได้มาได้อย่างรัดกุม

 

ซอฟต์แวร์ Vote/Poll คุณภาพดีสำหรับงานอีเวนต์ทุกประเภท

หากคุณกำลังมองหาระบบโหวตหรือโพลประสิทธิภาพดี สำหรับนำไปใช้ในงานอีเวนต์ครั้งต่อไปของคุณเอง พวกเรา Happenn สามารถช่วยคุณได้ ด้วยซอฟต์แวร์ที่ออกแบบมาเพื่อให้ขั้นตอนการโหวตสามารถดำเนินไปได้อย่างลื่นไหลไร้รอยต่อ ไม่ว่าจะเป็นงานสเกลเล็กๆ หรืองานใหญ่ระดับคอนเฟอร์เรนซ์ก็ตาม หากสนใจรายละเอียดเพิ่มเติมว่าเราช่วยคุณได้มากน้อยแค่ไหน สามารถติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมกับเราได้โดยตรงที่อีเมล hello@happenn.com หรือกรอกข้อมูลทิ้งไว้ที่แบบฟอร์มหน้าติดต่อเรา (เรามีบริการให้คำปรึกษาเรื่อง Event Tech ฟรี) แล้วจะมีทีมงานติดต่อกลับไปโดยเร็วครับ