Notice: Function _load_textdomain_just_in_time was called incorrectly. Translation loading for the wordpress-seo domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /var/www/web2.happenn.com/wp-includes/functions.php on line 6114
8 ปัจจัยสำคัญ ที่จะทำให้คุณอ่านโพลเลือกตั้งได้อย่างแม่นยำยิ่งกว่าเดิม
บล็อก
การตลาดงานอีเวนต์

8 ปัจจัยสำคัญ ที่จะทำให้คุณอ่านโพลเลือกตั้งได้อย่างแม่นยำยิ่งกว่าเดิม

เขียนเมื่อ MAY 1, 2023

ยิ่งการเลือกตั้งใกล้จะมาถึงมากเท่าไหร่ สำนักข่าวต่างๆ ก็มีการทำโพลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเพื่อทำนายผลการเลือกตั้งกันออกมาถี่ขึ้นตามไปด้วย ในฐานะที่พวกเราเองก็ทำงานเกี่ยวกับโพลและข้อมูลมาไม่น้อย สิ่งหนึ่งที่เราอยากบอกก็คือ การอ่านแค่ค่าเปอร์เซ็นต์ผลลัพธ์ที่ถูกสรุปมาแล้วเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ

บทความชิ้นนี้เราจะอธิบายให้คุณเข้าใจมากขึ้นถึงความสำคัญว่าทำไมเราจึงควรวิเคราะห์ผลโพลเพิ่มเติมเองในบางครั้ง แม้ว่าจะตัดสินใจได้แล้วว่าจะเลือกพรรคไหน แต่การเข้าใจโพลต่างๆ ที่มีในช่วงนี้ก็จะช่วยให้เราสามารถเข้าใจในความคิดเห็นและทัศนคติของสังคม ณ ช่วงเวลาหนึ่งได้มากขึ้น

สิ่งที่เราลิสต์ไว้ในบล็อกนี้จะทำให้คุณเข้าใจทั้งความคิดเห็นและทัศนคติที่ผผู้คนมีต่อการเลือกตั้งครั้งนี้ได้มากขึ้น และก็จะทำให้คุณสามารถอ่านโพลต่างๆ ได้อย่างครบถ้วนและแม่นยำมากขึ้นไปพร้อมๆ กันด้วย

 

ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง (Sample Size)

ขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่ทำการสำรวจคือปัจจัยสำคัญที่สะท้อนความแม่นยำของโพลทุกชิ้น โดยทั่วไปแล้ว Sample Size ที่มีจำนวนมากจะสามารถสะท้อนความเห็นของประชากรได้มากกว่าอย่างสอดคล้องกัน และก็สะท้อนความเห็นของสังคมต่อการเลือกตั้งได้แม่นยำกว่าด้วยเช่นกัน และในทางกลับกันกลุ่มตัวอย่างที่เล็กก็อาจนำไปสู่ความไม่แม่นยำรวมถึงอคติที่จะปรากฎให้เห็นจากผลโพลในท้ายที่สุด

เว็บไซต์ Tools4dev.org ให้ข้อมูลไว้ว่ากลุ่มตัวอย่างในการทำโพลขนาด 100 คนคือจำนวนขั้นต่ำของการทำโพลหนึ่งชิ้น และจำนวนกลุ่มตัวอย่างในอุดมคติที่ควรจะเป็นก็คือ 10% ของจำนวนประชากร แต่ไม่เกิน 1,000 คน เพราะต่อให้มีกลุ่มตัวอย่างที่มากกว่า 1,000 คนก็ไม่ได้ช่วยให้ความแม่นยำของโพลเพิ่มขึ้นมากนัก และจะกลายเป็นการเพิ่มต้นทุนให้กับการทำโพลโดยใช่เหตุ สำหรับกลุ่มประชากรที่มีจำนวนมากกว่า 200,000 คนขึ้นไป การใช้กลุ่มตัวอย่างที่ราวๆ 1,000 คนถือว่าเพียงพอต่อการนำเสนอข้อมูลที่แม่นยำแล้ว

 

วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่าง (Sampling Method)

วิธีการในการเลือกกลุ่มตัวอย่างสำหรับโพลก็มีลผกระทบกับความแม่นยำของโพลเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น โพลที่เลือกใช้กลุ่มตัวอย่างแบบสุ่มจะดูมีความเชื่อถือได้มากกว่าชิ้นที่ผู้ทำโพลเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยตัวเองแบบเฉพาะเจาะจง เพราะการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่มหมายถึงการที่คนทุกประเภทจะมีโอกาสถูกเลือกมาสำรวจความเห็นอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งจะช่วยให้โพลชิ้นนั้นๆ เป็นตัวแทนความเห็นของผู้คนได้ชัดเจนกว่า

 

ค่าความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

โพลทุกชิ้นจะมี Margin of Error เป็นของตัวเอง ความไม่แน่นอนตรงนี้เป็นเรื่องธรรมชาติของแบบสำรวจที่ทำกับกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่ม ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นมากที่เราจะต้องเข้าใจค่าความคลาดเคลื่อนตรงนี้ และใช้ข้อมูลตรงนี้เป็นหนึ่งในปัจจัยในการวิเคราะห์โพล การเข้าใจช่องว่างตรงนี้จะทำให้คุณสามารถมองผลโพลได้อย่างแม่นยำมากขึ้น

ซึ่งเจ้า Margin of Error ตรงนี้จะลดลงเรื่อย ๆ แปรผันตามจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่ทำการสำรวจ ซึ่งจะมีสูตรในการคำนวณค่าความคลาดเคลื่อนตรงนี้อยู่ว่า = 1 หาร Square Root ของจำนวนคนในกลุ่มตัวอย่าง ยกตัวอย่างเช่นถ้าโพลชิ้นนั้นบอกว่ามีค่าความคลาดเคลื่อนอยู่ที่ 2.5% นั่นหมายถึงถ้าคุณทำโพลด้วยหัวข้อนั้นๆ 100 ครั้ง ผลลัพธ์ที่ได้จากผู้ร่วมทำแบบสอบถามจะออกมาเหมือนกันกับผลโพลแรกสุดที่ได้มาอย่างน้อย 95 จาก 100 ครั้งที่ทำ ซึ่งการดูโพลหลายๆ ชิ้นก็จะทำให้คุณสามารถทำความเข้าใจความคิดของผู้คนที่มีต่อเรื่องนั้นๆ ได้แม่นยำขึ้นกว่าเดิม (robertniles.com)

 

ข้อมูลประชากร (Demographics)

ข้อมูลประชากร หรือ Demographic ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในการนำมาพิจารณาควบคู่ด้วยทุกครั้งเมื่ออ่านโพล เพราะปัจจัยอย่างอายุ เพศ เชื้อชาติ หรือมุมมองทางการเมืองสามารถก็สามารถส่งผลต่อแนวคิดที่จะสะท้อนออกมาผ่านโพลได้ทั้งหมด จึงเป็นเรื่องสำคัญมากที่เราจะต้องเข้าใจ Demographic ของกลุ่มตัวอย่างเหล่านี้ ว่าสามารถใช้เปรียบเทียบกับกลุ่มประชากรทั้งหมดได้มากน้อยแค่ไหนและอย่างไร

 

การเลือกใช้คำและลำดับคำถาม (Question Wording and Order)

การเลือกใช้ Wording ต่างๆ และลำดับของคำถามก็ส่งผลกระทบกับผลลัพธ์ของการทำโพลเช่นกัน เพราะวิธีการนำเสนอคำถามสามารถกำหนดแนวทางของการตอบได้ จึงเป็นเรื่องสำคัญมากที่จะต้องเข้าใจบริบทและรูปแบบของคำถามในการทำโพลชิ้นนั้นๆ

 

อคติ (Bias)

องค์กรหรือหน่วยงานที่ทำโพลเองก็อาจเป็นหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดอคติ ซึ่งมีโอกาสกระทบกับโพลที่ทำออกมาด้วยเช่นกัน เพราะฉะนั้นการย้อนดูการนำเสนอผลโพลชิ้นเก่าๆ ของสำนักโพลนั้นๆ จึงเป็นอีกเรื่องที่ไม่ควรปล่อยผ่านเช่นกัน และนอกจากเรื่องของสำนักโพลแล้ว Bias ในการทำโพลอาจอยู่ในการตั้งคำถามหรือการเลือกกลุ่มตัวอย่างได้ด้วยเช่นกัน ต้องพิจารณาให้ดี

 

ความนิยม ณ ช่วงเวลาหนึ่ง (Trend Over Time)

Trend Over Time คืออีกปัจจัยที่จะช่วยให้คุณมองผลโพลได้อย่างมีความเข้าใจมากขึ้น เพราะเป็นการมองความคิดและทัศนคติที่เปลี่ยนแปลงไปในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน ซึ่งตรงนี้ก็จะทำให้คุณได้ข้อมูลเชิงลึก (Insights) ว่าการเลือกตั้งกำลังดำเนินไปในทิศทางไหนได้อย่างชัดเจนขึ้น วิธีนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจบริบทของโผลชิ้นล่าสุดที่กำลังดูได้เป็นอย่างดี

 

ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง (Contextual Factors)

และสุดท้าย การวิเคราะห์ผลโพลจะดูแต่ตัวผลลัพธ์อย่างเดียวโดดๆ ไม่ได้ เพราะจะมีเรื่องของปัจจัยอื่นๆ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ว่าสถานการณ์ปัจจุบันระหว่างทำโพลชิ้นนั้นเป็นอย่างไร บรรยากาศทางการเมือง ณ ตอนนั้น รวมถึงข้อมูลในช่วงที่ผ่านมาก่อนหน้านี้ การเข้าใจข้อมูลเหล่านี้ประกอบจะช่วยให้คุณเข้าใจตัวโพลชิ้นนั้นๆ ได้มากกว่า และยิ่งคุณมีข้อมูลบริบทแวดล้อมประกอบมอบแค่ไหน คุณก็จะสามารถอ่านผลลัพธ์ของโพลชิ้นนั้นๆ ออกมาได้อย่างแม่นยำมากยิ่งขี้นไปอีกระดับ

 

โพลเลือกตั้งเป็นผลสำรวจที่มีความซับซ้อน

และจำเป็นจะต้องมีความระมัดระวังในหลายปัจจัยมากๆ รวมถึงการนำเสนอโผลแต่ละครั้งก็เต็มไปด้วยปัจจัยมากมาย ทั้งขนาดของกลุ่มตัวอย่าง วิธีการสำรวจ ไปจนถึงค่าความคลาดเลื่อนต่างๆ แต่การเข้าใจพื้นฐานเหล่านี้ไว้จะทำให้คุณสามารถอ่านโพลได้อย่างแม่นยำ และสามารถใช้ข้อมูลที่ได้มาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้แล้วยังจำเป็นมากๆ ที่ผู้อ่านโพลจะต้องระวังเกี่ยวกับอคติที่อาจจะเกิดขึ้นได้ และมองโพลในบริบททางการเมืองที่ครอบคลุม ด้วยความเข้าใจปัจจัยเหล่านี้ที่ครบถ้วน คุณจะสามารถตีความผลสำรวจช่วงเลือกตั้งและตัดสินใจเรื่องต่างๆ ผ่านข้อมูลที่ได้มาได้อย่างรัดกุม

 

ซอฟต์แวร์ Vote/Poll คุณภาพดีสำหรับงานอีเวนต์ทุกประเภท

หากคุณกำลังมองหาระบบโหวตหรือโพลประสิทธิภาพดี สำหรับนำไปใช้ในงานอีเวนต์ครั้งต่อไปของคุณเอง พวกเรา Happenn สามารถช่วยคุณได้ ด้วยซอฟต์แวร์ที่ออกแบบมาเพื่อให้ขั้นตอนการโหวตสามารถดำเนินไปได้อย่างลื่นไหลไร้รอยต่อ ไม่ว่าจะเป็นงานสเกลเล็กๆ หรืองานใหญ่ระดับคอนเฟอร์เรนซ์ก็ตาม หากสนใจรายละเอียดเพิ่มเติมว่าเราช่วยคุณได้มากน้อยแค่ไหน สามารถติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมกับเราได้โดยตรงที่อีเมล hello@happenn.com หรือกรอกข้อมูลทิ้งไว้ที่แบบฟอร์มหน้าติดต่อเรา (เรามีบริการให้คำปรึกษาเรื่อง Event Tech ฟรี) แล้วจะมีทีมงานติดต่อกลับไปโดยเร็วครับ